วิทยุอิสลามไทย

Hot

Post Top Ad

 เติมทิพ

Post Top Ad

Your Ad Spot

วันอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2563

ศาสนาอิสลาม

สิงหาคม 02, 2563 0



ศาสนาอิสลามเกิดขึ้นในดินแดนทะเลทรายอาหรับ เมืองเมกกะ(ประเทศซาอุดิอาระเบีย ปัจจุบัน)    เป็นศาสนาที่มีความสำคัญศาสนาหนึ่งของลกซึ่งมีผู้นับถือจากทุกชาติทุกภาษา มีศาสดาชื่อ ศาสดามุฮัมมัด มีคัมภีร์ได้แก่ คัมภีร์อัลกุรอาน  มีพิธีกรรมเช่น การละหมาด การถือศีลอด การบำเพ็ญฮัจญ์ มีศาสนสถาน เช่น  มัสญิดอัลกะอ์บะฮ์ และเรียกผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามว่า มุสลิม
คำว่า  “อิสลาม”  เป็นภาษาอรับ  หมายถึง การนอบน้อม มอบตนจำนนต่ออัลลอฮ์  คือการยอมมอบตนตามประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้าดยสิ้นเชิง ยังหมายถึงความสันติความปลอดภัย   อิสลามในฐานะเป็นชื่อของศาสนาใช้ตามคัมภีร์อุลกุรอาน
“มุสลิม”  คือผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม คำว่ามุสลิม ยังมีความหมายรวมถึงผู้ใฝ่สันติ ผู้ยอมมอบกายและหัวใจต่อพระเจ้า  คนไทยที่นับถือศาสนาอิสลามจึงได้ชื่อว่า ชาวไทยมุสลิม
อัลลอฮ์”  พระนามเฉพาะของพระเป็นเจ้า  หมายถึง พระนามของพระผู้เป็นเจ้าแห่งสากลจักรวาล ในศาสนาอิสลามนับถืออัลลอฮ์องค์เดียวเท่านั้น ที่เป็นผู้บังเกิดโลกนี้และจักรวาลทั้งหลายมา พร้อมทั้งเป็นผู้ทรงบังเกิดสิ่งที่มีชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิต สิ่งที่เรามองเห็นและสิ่งที่เรามองไม่เห็น ทรงเป็นผู้สร้าง ทรงเป็นผู้ควบคุม ทรงเป็นผู้ดูแล และเป็นผู้ทรงประทานสรรพสิ่งทั้งหลายมา
“อัลกุรอาน”  คัมภีร์ของศาสนาอิสลามซึ่งรวบรวมวะห์ยุ หรือพระดำรัสของอัลลอฮ์ ที่ประทานแก่ศาสดามุฮัมมัด ผ่านมลาอิกะฮ์ที่มีนามญิบรีล เพื่อเป็นสิ่งชี้ทางแก่มนุษยชาติ ถ่ายทอดเป็นภาษาอาหรับ ประทานครั้งแรกในคืนอัลก็อดร์ คือคืนที่สำคัญที่สุดในเดือนเราะมาฎอน
หลักการของอิสลาม  2 ประการ คือ หลักศรัทธา 6 ประการ  และ หลักปฏิบัติ 5ประการ 
หลักศรัทธา 6 ประการ คือ

  1. ศรัทธาในพระเจ้า(อัลลอฮ์)
  2. ศรัทธาในบรรดามลาอิกะฮ์ ของอัลลอฮ์ หรือเทวฑูต
  3. ศรัทธาในบรรดาคัมภีร์ของอัลลอฮ์
  4. ศรัทธาในบรรดาศาสดาหรือนบี (ศาสดาหรือนบี แปลว่าผู้ประกาศหรือว่าแจ้งข่าว)
  5. ศรัทธาในวันตัดสินและการเกิดใหม่ในปรโลก
  6. ศรัทธาในกฎกําหนดสภาวะ  แห่งธรรมชาติ  แห่งชีวิต

คําว่า “ ศรัทธา “ หมายถึง ความเชื่อถือ ความเลื่อมใส
สําหรับหลักปฏิบัติ มี 5 ประการ คือ

  1. การปฏิญานตนว่า “ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์ และท่านนบีมูฮัมมัด คือศาสนฑูตของพระองค์”
  2. การนมาซ หรือนมัสการวันละ 5 เวลา  คำว่า”นมาช”เป็นภาษาเปอร์เซีย แผลงเป็นภาษาไทยว่า “ละหมาด” เวลาที่กำหนดไว้ คือ ยํ่ารุ่งก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น บ่าย เย็น หัวคํ่า และยามดึกก่อนเที่ยงคืน   การละหมาดอาจทําที่ใดก็ได้ แต่ต้องหันหน้าไปทางเมืองเมกกะประเทศซาอุดิอาระเบีย
  3. การถือศีลอด  (1 เดือน คือเดือนที่ 9 ของฮิจเราะห์สักราช ตามปฏิทินทางจันทรคติของอิสลาม ซึ่งเรียกเดือน”เราะมะฎอน”)
  4. การบริจาคซะกาต
  5. การประกอบพิธีฮัจญ์. คือการไปเยี่ยมหรือการเดินทางไปมักกะฮ์

ศาสนาอิสลามได้เข้ามาสู่ประเทศตั้งแต่ก่อนสมัยสุโขทัย โดยมีอิทธิพลอยู่บนแหลมมลายูก่อนแล้ว เพราะมีหลักฐานปรากฏว่าชาวมุสลิมจากประเทศอาหรับและอินเดียได้เข้ามาทำการค้า และเผยแพร่ศาสนาอิสลามแก่ผู้ที่อยู่บนแหลมมลายู ในสมัยกรุงศรีอยุธยาประมาคริสตศักราช 1590 – 1605 ได้มีพ่อค้าชาวอาหรับจากประเทศเปอร์เซียชื่อ  “เฉกอะหมัด”  เข้ามาตั้งหลักแหล่งและค้าขายอยู่ในกรุงศรีอยุธยา และพ่อค้าผู้นี้ ต่อมาได้รับการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ไทย คือพระเจ้าทรงธรรมให้เป็นเจ้าพระยาเฉกอะหมัด ตำแหน่งสมุหนายกว่าราชการทางฝ่ายเหนือ ท่านผู้นี้ได้เป็นบรรพบุรุษของตระกูลไทยในปัจจุบันหลายตระกูล สำหรับชาวมุสลิมในจังหวัดภาคใต้ของไทยนั้นเป็นชนพื้นเมืองมาแต่ดั้งเดิม มิได้สืบเชื้อสายมาจากชาวมุสลิมที่เข้ามาทำการค้า หรืออพยพมาจากดินแดนอื่น เพราะมีหลักฐานปรากฏว่าชนชาติดั้งเดิมเหล่านี้ได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่บนแหลมมลายู ตั้งแต่ก่อนคริสตศักราชเป็นเวลา 43 ปี และมีอาาจักสำคัญ คืออาาจักรลังกาซู ต่อมาประมาณคริสตศักราช 220 ชนชาตินี้ก็ได้ก่อตั้งอาณาจักรขึ้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช และในคริสตศักราช 658 เกิดอาณาจักรขึ้นใหม่ คืออาณาจักรศรีวิชัย มีอิทธิพลแผ่ไปทั้วแหลมมลายู และอาณาจักรที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ก็ตกอยู่ในอำนาจของอาณาจักรศรีวิชัยด้วย จนกระทั่งถึงคริสตศตวรรษที่ 8 อาณาจักรศรีวิชัยเสื่อมอำนาจลง และอาณาจักรใหม่เกิดขึ้นแทนที่ คืออาณาจักรมัชปาหิต ต่อมาถึงคริสตศักราช 1401 อาณาจักนี้ก็เสื่อมสลายลง และอิทธิพลของศาสนาอิสลามก็ได้แผ่เข้าแทนที่ วัฒนธรรมอินเดียที่เคยมีอยู่ในบริเวณนี้ประมาณปลายคริสตศตวรรษที่ 8 ถึงต้นคริสตศตวรรษที่ 9 ศาสนาอิสลามได้เข้าฝังรกรากในอาณาจักรปัตตานี ซึ่งก่อตั้งโดยพระยาตนกูดันดารา และขยายตัวไปครอบคลุมจังหวัดชายแดนภาคใต้  ในปัจจุบันชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลามมีอยู่ทั่วประเทศ
ชาวไทยมุสลิมทุกคนที่เกิดในประเทศไทย ไม่ว่าจะมีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ แห่งใด ถือว่าเป็นคนสัญชาติไทย และมีสิทธิเสรีภาพตามกฎหมายเท่าเทียมกับชาวไทยที่นับถือศาสนาอื่น ๆ สำหรับชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 4 จังหวัด ได้แก่ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และสตูล รัฐบลให้สิทธิพิเศษให้ใช้กฎหมายอิสลามในเรื่องครอบครัวและมรดก เพื่อให้สอดคล้องกับหลักศาสนาและขนบธรรมเนียมประเพณี จึงกำหนดกฎหมายให้มีผู้พิพากษาพิเศษขึ้น มีหน้าที่ในกรวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายอิสลาม นอกเหนือจากผู้พิพากษาที่มีประจำศลอยู่แล้วเรียกว่  “ดาโต๊ะยุติธรรม”

ปัจจุบันศาสนาอิสลาม  มีองค์กรทางศาสนาที่ราชการรับรอง เรียกว่า สํานักจุฬาราชมนตรี   โดยมีจุฬาราชมนตรีเป็นผู้นําสูงสุด   มีโครงสร้างการบริหารเป็นกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย   กรรมการกลางอิสลามประจําจังหวัด  และกรรมการกลางอิสลามประจํามัสยิด ในแต่ละมัสยิด(สุเหร่า) มีอิหม่าม คอเต็บ และบิหลั่น ประเภทละ 1 คน รวม 3 คน เป็นผู้ปกครองดูแลสัปปุรุษ
อิสลามไม่มีนักบวชในศาสน ชื่อที่เรียกผู้นำในระดับต่างๆ มีความหมายดังนี้
อิหม่าม              หมายถึง ผู้นำศาสนาอิสลามประจำมัสยิด
คอเต็บ              หมายถึง ผู้แสดงธรรมประจำมัสยิด
บิหลั่น               หมายถึง  ผู้ประกาศเชิญชวนให้มุสลิมปฏิบัติศาสนกิจตามเวล
คณะกรรมการกลาง   หมายถึง  คะกรรมการกลาง ศูนย์อบรมศาสนาอิสลามและจริยธรรม
ประจำมัสยิด
สัปปุรุษประจำมัสยิด        หมายถึง  มุสลิมที่คะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดมีมติรับเข้าเป็น
สัปปุรุษประจำมัสยิด  และมีชื่ออยู่ในทะเบียนสัปปุรุษประจำมัสยิด  และผู้นั้นจะเป็นสัปปุรุษเกินกว่าหนึ่งมัสยิดในเวลาเดียวกันไม่ได้

Ref : http://www.catholic.or.th/amc/religious003.doc

Read More

มุสลิม คือ

สิงหาคม 02, 2563 0



มุสลิม คือ

ผู้นับถือศาสนาอิสลาม หากเป็นบุรุษจะเรียกว่า มุสลิม หรือเป็นสตรีจะเรียกว่า มุสลิมะฮ์ หรือเรียกโดยรวมว่า อิสลามิกชน คำว่า "มุสลิม" เป็นคำที่ยืมมาจากภาษาอาหรับ مسلم แปลว่า ผู้ศิโรราบ ผู้ภักดี มนุษย์ทุกคนสามารถเป็นมุสลิมได้โดยการปฏิญาณตน มุสลิมนั้นไม่จำกัดเผ่าพันธุ์ อายุ เพศ และวรรณะ ผู้ที่เป็นมุสลิมจะต้องปฏิบัติมุสลิมตามศาสนวินัยต่าง ๆ ของอิสลาม (ทั้งวาญิบ และฮะรอม)

ผู้ที่เป็นมุสลิมต้องปฏิบัติตามหลักศาสนกิจ 5 ประการดังนี้ คือ การกล่าวคำปฏิญานตนเข้ารับอิสลาม, การละหมาด 5 เวลาในแต่ละวัน, การถือศีลอดในเดือนรอมดอน, การบริจาคทาน (ซะกาต), และการทำฮัจญ์

ผู้ที่เป็นมุสลิมมีหลักความเชื่อหลัก 6 ประการ นั่นคือ เชื่อในพระเจ้าองค์เดียว (อัลลอฮ์), เชื่อในบรรดามลาอีกะฮ์, เชื่อในคัมภีร์ที่ถูกประทานมาจากพระเจ้า, เชื่อในบรรดาศาสนทูตต่างๆ, เชื่อในวันสิ้นโลก (วันกียามะฮ์), และเชื่อในกฎแห่งความดีความชั่ว (กอดอและกอดัร)

คำปฏิญาณตน

การปฏิญาณตนเข้ารับมุสลิมเป็นการประกาศตนว่ามีความศรัทธาในศาสนาอิสลามและพร้อมจะปฏิบัติตามหลักศาสนา ผู้กล่าวด้วยความจริงใจและมีศรัทธามั่นคง พร้อมจะปฏิบัติตามหลักศาสนา ถือว่าเป็นมุสลิมแล้ว ทั้งนี้การกล่าวปฏิญาณนิยมกล่าวต่อหน้าผู้รู้ทางศาสนาและมีพยานอื่นอย่างน้อย 2 คน ทั้งนี้ ผู้รู้จะได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติที่ถูกต้องได้

คำปฏิญาณตนเข้ารับอิสลามคือการกล่าวคำเป็นภาษาอาหรับว่า "อัชฮะดุ อัลลา อิลาหะ อินลัลลอหฺ วะอัชฮะดุ อันนะ มุฮัมมะดัร รอซูลุลลอหฺ" มีความหมายในภาษาไทยว่า "ข้าขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอหฺ และข้าขอปฏิญาณว่า นบีมุฮัมมัดเป็นศาสนทูตแห่งพระองค์"

มุสลิมhttps://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%AA%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%A1

Read More

ทำไมมุสลิมต้องละหมาด

สิงหาคม 02, 2563 0

ชาวพุทธไปวัดเพื่อสวดมนต์ไหว้พระ ชาวคริสต์ไปโบสถ์เพื่ออธิษฐาน สำหรับชาวมุสลิมไปมัสยิดเพื่อละหมาด

ละหมาดคืออะไร? หลายคนอาจสงสัย

ละหมาดเป็นคำไทยที่เพี้ยนมาจากคำว่า “นมาซ” ซึ่งเป็นคำในภาษาตุรกี เปอร์เซีย และอุรดู คำนี้หมายถึงการเคารพสักการะสิ่งที่ผู้คนนับถือว่าศักดิ์สิทธิ์สูงสุด นั่นคือพระเจ้า

เนื่องจากชนชาติที่พูดภาษาดังกล่าวเป็นผู้นับถือศาสนาอิสลามหรือเป็นมุสลิม และเดินทางมาค้าขายในเมืองไทยตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น มุสลิมเหล่านี้จะต้องปฏิบัตินมาซวันละ 5 เวลาตามข้อกำหนดของอิสลาม คนไทยได้ออกเสียงคำว่านมาซเพี้ยนเป็นละหมาด

ถ้าคนไทยพูดคำว่าละหมาด ชาวอาหรับอาจไม่เข้าใจ แต่ถ้าพูดคำว่านมาซ ชาวอาหรับพอจะเข้าใจ เพราะชาวอาหรับมีปฏิสัมพันธ์กับชนชาติที่พูดคำว่านมาซมาเนิ่นนาน

ความจริงแล้วภาษาเดิมของคำว่านมาซหรือละหมาดคือคำว่า “เศาะลาฮฺ” ซึ่งเป็นภาษาอาหรับ คำนี้มีความหมายสำคัญ 3 ประการ นั่นคือ 1) การแสดงความเคารพสักการะพระเจ้าด้วยอิริยาบถยืน โค้ง กราบ และนั่ง 2) การกล่าวคำสรรเสริญพระเจ้า และ 3) การวิงวอนขอพร

ความหมายทั้งสามนี้มีอยู่ครบถ้วนในการละหมาดประจำวัน 5 เวลา แต่ในการละหมาดให้คนตายมีแค่ความหมาย 2 ประการหลังเท่านั้น เพราะเป็นแค่เพียงการสรรเสริญพระเจ้าและขอพรให้คนตาย มิใช่การแสดงความเคารพสักการะพระเจ้าในความหมายแรก เพราะเป็นการยืนขอพรอย่างเดียว ไม่มีการโค้ง การกราบ และนั่ง

การละหมาดเป็นการยืนยันความศรัทธาในพระเจ้าของคนที่บอกว่าตัวเองนับถืออิสลามหรือเป็นมุสลิม ดังนั้น การละหมาดจึงเป็นสิ่งที่แยกแยะว่าใครเป็นมุสลิมและมิใช่มุสลิม นอกจากนี้แล้วตามคำสอนของนบีมุฮัมมัด เมื่อมนุษย์ฟื้นคืนชีพขึ้นมาในวันแห่งการพิพากษา คำถามแรกที่พระเจ้าจะถามมนุษย์ก็คือเรื่องการละหมาดว่าได้ทำและทำครบถ้วนถูกต้องหรือไม่

ในการละหมาดผู้ละหมาดถูกกำหนดให้อ่านถ้อยคำสรรเสริญพระเจ้า และกล่าวย้ำว่าพระเจ้าเป็นผู้ทรงมีอำนาจสูงสุดในวันแห่งการพิพากษามนุษย์ นอกจากนี้แล้วยังถูกกำหนดให้วิงวอนขอแนวทางที่ถูกต้องในการดำเนินชีวิตจากพระเจ้า และวอนขอต่อพระองค์ให้อภัยโทษความผิดบาปของตน

quran reading 3

เนื่องจากการละหมาดเป็นการแสดงออกถึงความศรัทธาและความเกรงกลัวพระเจ้า การละหมาดจึงเป็นการรักษาความสัมพันธ์อันดีกับพระเจ้าผู้ทรงสร้างและเป็นเจ้าของทุกสรรพสิ่ง ความสัมพันธ์อันดีนี้จะช่วยให้มนุษย์มีความสัมพันธ์ที่ดีกับทุกสิ่งที่พระเจ้าสร้างมา

ด้วยความสำคัญของการละหมาดต่อชีวิต นบีมุฮัมมัดจึงกำหนดเป็นกฎไว้ว่า พ่อแม่ต้องส่งลูกของตนให้เรียนศาสนาตั้งแต่อายุ 7 ขวบ และเมื่อลูกอายุ 10 ขวบ พ่อแม่ต้องบังคับให้ลูกละหมาด เพื่อที่ว่าลูกของตนจะได้รักษาความสัมพันธ์กับพระเจ้าด้วยตัวเองต่อไป

เหตุผลของการสั่งให้เรียนศาสนาตั้งแต่เยาว์วัยนั้นไม่ต่างอะไรจากการที่แพทย์สั่งให้พ่อแม่พาทารกไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่างๆที่อาจเกิดขึ้นแก่ทารก การให้เด็กเรียนศาสนาและละหมาดก็เป็นการให้วัคซีนทางจิตวิญญาณเพื่อให้เด็กมีภูมิป้องกันบาปเมื่อเติบโตขึ้น เพราะในขณะมีชีวิตพ่อแม่อาจดูแลป้องกันมิให้ลูกตัวเองทำบาป แต่วันหนึ่งตัวเองต้องจากลูกไป ใครจะคอยระวังลูกของตนมิให้ทำบาปนอกจากสำนึกแห่งความยำเกรงพระเจ้าซึ่งเกิดขึ้นจากการละหมาด

คอลัมน์ : สันติธรรม

ผู้เขียน : บรรจง บินกาซัน

 (โลกวันนี้วันสุข ประจำวันที่  10-17 มกราคม 2563)

Read More

วันอาทิตย์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

โทษในอิสลามสำหรับลูกที่ไม่ใส่ใจหรือ อกตัญญูต่อพ่อแม่

พฤษภาคม 24, 2563 0
โทษของลูกที่ไม่ใส่ใจหรืออกตัญญูต่อพ่อแม่
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงกรุณาปราณีผู้ทรงเมตตาเสมอ
ลูกที่อกตัญญูต่อพ่อแม่แน่นอนจะได้รับบทลงโทษอย่างแสนสาหัสซึ่งไม่เพียงแค่โลกอาคิเราะฮฺ (โลกหน้า) เท่านั้นแต่รวมถึง ณ โลกดุนยา (โลกนี้) ก็เช่นเดียวกันซึ่ง Berita Muslim (เบอรีตามุสลิมนิตยสารมุสลิมออนไลน์) เล็งเห็นความสำคัญว่าเมื่ออัลลอฮฺ (ซ.บ.) ได้ประสงค์ให้เราเป็นลูกของพ่อแม่แล้วเราก็ไม่ควรอกตัญญต่อท่านเพราะบทลงโทษ ณ ที่อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ยุติธรรมเสมอ
ส่วนหนึ่งจากบทลงโทษสำหรับลูกที่อกตัญญูต่อพ่อแม่เช่น
1. จะไม่ได้เข้าสวรรค์ของอัลลอฮฺ (ซ.บ.)
ตามฮาดิษของท่านนบีมูฮ่หมัด (ซ.ล.) ความว่า“ มีคนสามประเภทที่อัลลอฮฺไม่อนุญาติเข้าสวรรค์คือผู้มึนเมาอย่างหนัก, ผู้ที่อกตัญญูต่อบิดามารดา, และผู้ที่ปฏิบัติไม่ดีต่อภรรยาและลูกในครอบครัว (ปล่อยละเลยให้ภรรยาและลูกทำในสิ่งที่ไม่ดี)
และเพิ่มจากฮาดิษนบีว่า“ ผู้ใดตื่นเช้าโดยพ่อแม่มีความพอใจในตัวเขาหรือเพียงคนใดคนหนึ่งแน่นอนจักถูกเปิดประตูสวรรค์ให้แก่เขาและผู้ใดอยู่ถึงเย็นโดยพ่อแม่โกรธเขาหรือเพียงคนใดคนหนึ่งแน่นอนประตูนรกถูกเปิดให้แก่เขา”
2. อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงกริ๊ว
ตามฮาดิษของท่านนบีมูฮำมัด (ซ.ล.) ความว่า“ ความโปรดปรานของพระเจ้าอยู่ที่ความพอใจของผู้ให้กำเนิดและความกริ้วของพระเจ้าอยู่ที่ความโกรธของผู้ให้กำเนิด”
3. เป็นบาปใหญ่
รายงานจากอับดุลลอฮฺบินอัมรุบินอัลอาศเราะฏิยัลลอฮฺอันฮุมาจากท่านนบีมูฮำมัด (ซ.ล.) ได้กล่าวความว่าความว่า“ บาปใหญ่นั่นคือการตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺการเนรคุณต่อพ่อแม่การฆ่าตัวตายและการสาบานที่ตั้งใจโกหก (ไม่ทำตามที่สาบาน)” (บันทึกโดยอัลบคอรีย์)
และมีฮาดิษเพิ่มเติมจากรายงานอับดุลลอฮฺบินอัมรุบินอัลอาศเราะฏิยัลลอฮฺอันฮุมาจากท่านนบีมูฮ่หมัด (ซ.ล.) ได้กล่าวว่า ส่วนหนึ่งของบาปใหญ่นั่นคือการที่ผู้ชายด่าพ่อแม่ของเขา” ซึ่งซอฮาบะฮฺ (เพื่อสหายในสมัยของท่านนบี) ถามว่า“ โอ้ท่านรอซูลุลลอฮฺมีคนด่าพ่อแม่ของเขาด้วยหรือ?… แล้วท่านก็ตอบว่า“ ใช่” นั่นคือเขาไปด่าพ่อของคนอื่นและเขาคนนั้นก็ด่าพ่อของเขากลับเขาไปด่าพ่อแม่ของคนอื่นและเขาก็ด่าพ่อแม่ของเขากลับ (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์และมุสลิม)
4. ละหมาดจะไม่ถูกตอบรับ
ตามฮาดิษของท่านนบีความว่า“ อัลลอฮจะไม่ตอบรับการละหมาดของผู้ที่เกลียดชังพ่อแม่ของเขาและทำไม่ดีต่อท่านทั้งสอง (รายงานโดย H. R. Abu al-Hasan bin Makruf)
5. จะถูกลบอามาล
แม้ว่าลูกคนหนึ่งเป็นคนดีมากแค่ไหนจะทำดีต่อเพื่อนๆต่อเครือญาติต่อสังคมต่อโลกแต่หากไม่ได้ทำดีต่อพ่อแม่หรืออกตัญญต่อท่านโดยไม่ใส่ใจท่านจะเป็นใยดียังไงซึ่งความดีเหล่านั้นก็เท่ากับสูญเปล่าเช่นกันตามฮาดิษนปีความว่ามี 2 สิ่งที่เป็นสาเหตุในการถูกลบอามาลคือ
* 1.ซีริก (การตั้งภาคี) ต่ออัลลอฮฺ (ซ. บ.)
* 2.เนรคุณต่อพ่อแม่และผู้รู้ทางด้านสาสนา (Alim) ที่ถูกเยาะเย้ย (หรือโดนหลอกในกลยุคเรื่องขอศาสนา) โดยผู้ที่ไม่รู้ทางด้านศาสนา (Jahil)” (Hadith Thabrani)
ฉะนั้นในฐานะลูกคนหนึ่งที่ต้องการเป็นข่าวที่ดีที่มีอีหม่าน (ศรัทธา) อย่าลืมพ่อแม่ของท่านทั้งสองในขณะที่ยังมีโอกาสอยู่กับท่านบนโลกดุนยาทำดีกับท่านให้มากๆที่สำคัญห้ามเนรคุณและอกตัญญูต่อท่านเด็ดขาดเพราะจะเป็นบาปและได้รับบทลงโทษอย่างแสนสาหัสใน“ นรก”

สำหรับใครที่เคยผิดพลาดกับพ่อแม่อย่าลืมไปขอโทษ (ขอมาอัฟ) กับท่านให้มากๆขณะที่ท่านยังอยู่กับเราและหากใครที่พ่อแม่ได้จากไปแล้ว (กลับสู่ความเมตตาของพระองค์) แนะนำให้เปลี่ยนแปลงตนเองเป็นคนดีและขอดุอาอุต่ออัลลอฮฺ (ซ.บ.) ให้มากๆเพื่อให้พระองค์อภัยโทษในบาปของท่านทั้งสองและให้ท่านทั้งสองได้เข้าสวรรค์ของพระองค์สวรรค์และนรกคือของพระองค์เท่านั้นไม่มีใครสามารถฮูก่มใครได้มอบหมายให้พระองค์เป็นผู้ดูแลให้เราเป็นคนดีที่สุดอินชาอัลลอฮฺวัลลอฮุอะอุล้ม * อ่านต่อบทความหลีกเลี่ยงลักษณะนิสัยเสี่ยงสู่การเป็นลูกอกตัญญต่อพ่อแม่เรียบ
เรียงโดย Fateemoh: Beritamuslimmag.com
Read More

การตักบีร ในวันอีดิลฟิฏรี กล่าวตักบีร

พฤษภาคม 24, 2563 0
การตักบีร ในวันอีดิลฟิฏรี
กล่าวตักบีร รูปแบบที่ 1
اللهُ أكبر اللهُ أكبر، لا إلهَ إلَّا الله
واللهُ أكبر اللهُ أكبر، ولله الحَمْد
กล่าวตักบีร รูปแบบที่ 2
اللهُ أكبر اللهُ أكبر اللهُ أكبر، لا إلهَ إلَّا الله
واللهُ أكبر اللهُ أكبر، ولله الحَمْد
-----------------------------------------------------------------------
เชคบินบาซ رحمه الله กล่าวว่า
"สามารถกล่าวตักบีรได้ทั้งสองรูปแบบ โดยเริ่มอ่านตั้งแต่หลังตะวันตกดินของคืนวันอีด จนกระทั้งถึงเช้าวันอีดเวลาที่อีมามไปยังมูศอลลา"
จาก www.binbaz.org.sa/fatwas
Read More

วันอังคารที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2563

ทำไมมุสลิมต้องละหมาด

เมษายน 28, 2563 0
คอลัมน์ : สันติธรรม
ผู้เขียน : บรรจง บินกาซัน
 (โลกวันนี้วันสุข ประจำวันที่  10-17 มกราคม 2563)
ชาวพุทธไปวัดเพื่อสวดมนต์ไหว้พระ ชาวคริสต์ไปโบสถ์เพื่ออธิษฐาน สำหรับชาวมุสลิมไปมัสยิดเพื่อละหมาด
ละหมาดคืออะไร? หลายคนอาจสงสัย
ละหมาดเป็นคำไทยที่เพี้ยนมาจากคำว่า “นมาซ” ซึ่งเป็นคำในภาษาตุรกี เปอร์เซีย และอุรดู คำนี้หมายถึงการเคารพสักการะสิ่งที่ผู้คนนับถือว่าศักดิ์สิทธิ์สูงสุด นั่นคือพระเจ้า
เนื่องจากชนชาติที่พูดภาษาดังกล่าวเป็นผู้นับถือศาสนาอิสลามหรือเป็นมุสลิม และเดินทางมาค้าขายในเมืองไทยตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น มุสลิมเหล่านี้จะต้องปฏิบัตินมาซวันละ 5 เวลาตามข้อกำหนดของอิสลาม คนไทยได้ออกเสียงคำว่านมาซเพี้ยนเป็นละหมาด
ถ้าคนไทยพูดคำว่าละหมาด ชาวอาหรับอาจไม่เข้าใจ แต่ถ้าพูดคำว่านมาซ ชาวอาหรับพอจะเข้าใจ เพราะชาวอาหรับมีปฏิสัมพันธ์กับชนชาติที่พูดคำว่านมาซมาเนิ่นนาน
ความจริงแล้วภาษาเดิมของคำว่านมาซหรือละหมาดคือคำว่า “เศาะลาฮฺ” ซึ่งเป็นภาษาอาหรับ คำนี้มีความหมายสำคัญ 3 ประการ นั่นคือ 1) การแสดงความเคารพสักการะพระเจ้าด้วยอิริยาบถยืน โค้ง กราบ และนั่ง 2) การกล่าวคำสรรเสริญพระเจ้า และ 3) การวิงวอนขอพร
ความหมายทั้งสามนี้มีอยู่ครบถ้วนในการละหมาดประจำวัน 5 เวลา แต่ในการละหมาดให้คนตายมีแค่ความหมาย 2 ประการหลังเท่านั้น เพราะเป็นแค่เพียงการสรรเสริญพระเจ้าและขอพรให้คนตาย มิใช่การแสดงความเคารพสักการะพระเจ้าในความหมายแรก เพราะเป็นการยืนขอพรอย่างเดียว ไม่มีการโค้ง การกราบ และนั่ง
การละหมาดเป็นการยืนยันความศรัทธาในพระเจ้าของคนที่บอกว่าตัวเองนับถืออิสลามหรือเป็นมุสลิม ดังนั้น การละหมาดจึงเป็นสิ่งที่แยกแยะว่าใครเป็นมุสลิมและมิใช่มุสลิม นอกจากนี้แล้วตามคำสอนของนบีมุฮัมมัด เมื่อมนุษย์ฟื้นคืนชีพขึ้นมาในวันแห่งการพิพากษา คำถามแรกที่พระเจ้าจะถามมนุษย์ก็คือเรื่องการละหมาดว่าได้ทำและทำครบถ้วนถูกต้องหรือไม่
ในการละหมาดผู้ละหมาดถูกกำหนดให้อ่านถ้อยคำสรรเสริญพระเจ้า และกล่าวย้ำว่าพระเจ้าเป็นผู้ทรงมีอำนาจสูงสุดในวันแห่งการพิพากษามนุษย์ นอกจากนี้แล้วยังถูกกำหนดให้วิงวอนขอแนวทางที่ถูกต้องในการดำเนินชีวิตจากพระเจ้า และวอนขอต่อพระองค์ให้อภัยโทษความผิดบาปของตน
quran reading 3
เนื่องจากการละหมาดเป็นการแสดงออกถึงความศรัทธาและความเกรงกลัวพระเจ้า การละหมาดจึงเป็นการรักษาความสัมพันธ์อันดีกับพระเจ้าผู้ทรงสร้างและเป็นเจ้าของทุกสรรพสิ่ง ความสัมพันธ์อันดีนี้จะช่วยให้มนุษย์มีความสัมพันธ์ที่ดีกับทุกสิ่งที่พระเจ้าสร้างมา
ด้วยความสำคัญของการละหมาดต่อชีวิต นบีมุฮัมมัดจึงกำหนดเป็นกฎไว้ว่า พ่อแม่ต้องส่งลูกของตนให้เรียนศาสนาตั้งแต่อายุ 7 ขวบ และเมื่อลูกอายุ 10 ขวบ พ่อแม่ต้องบังคับให้ลูกละหมาด เพื่อที่ว่าลูกของตนจะได้รักษาความสัมพันธ์กับพระเจ้าด้วยตัวเองต่อไป
เหตุผลของการสั่งให้เรียนศาสนาตั้งแต่เยาว์วัยนั้นไม่ต่างอะไรจากการที่แพทย์สั่งให้พ่อแม่พาทารกไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่างๆที่อาจเกิดขึ้นแก่ทารก การให้เด็กเรียนศาสนาและละหมาดก็เป็นการให้วัคซีนทางจิตวิญญาณเพื่อให้เด็กมีภูมิป้องกันบาปเมื่อเติบโตขึ้น เพราะในขณะมีชีวิตพ่อแม่อาจดูแลป้องกันมิให้ลูกตัวเองทำบาป แต่วันหนึ่งตัวเองต้องจากลูกไป ใครจะคอยระวังลูกของตนมิให้ทำบาปนอกจากสำนึกแห่งความยำเกรงพระเจ้าซึ่งเกิดขึ้นจากการละหมาด
Read More

รอมฎอน : ชาวมุสลิมปรับตัวอย่างไรในเดือนรอมฎอนท่ามกลางการระบาดของโควิด-19

เมษายน 28, 2563 0
ในเดือนรอมฎอนซึ่งเริ่มต้นวันนี้ (24 เม.ย.) เป็นวันแรกชาวมุสลิมจะถือศีลอดตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ตกเป็นเวลา 30 วัน นอกจากนี้ยังมีการรวมตัวกันเพื่อปฏิบัติศาสนกิจและกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งที่บ้านและมัสยิด แต่การระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้รอมฎอนปีนี้แตกต่างจากทุกปีที่ผ่านมา ชาวมุสลิมรับมือและปรับตัวอย่างไรกันบ้าง
จำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม และการพบผู้ติดเชื้อกลุ่มใหญ่เป็นชาวไทยมุสลิมที่เดินทางกลับจากการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาในต่างประเทศ ทำให้หลายคนกังวลว่าพี่น้องมุสลิมจะมีความเสี่ยงในการติดเชื้อ และหากมีมาตรการป้องกันตัวเองและควบคุมการระบาดไม่ดีพอ เดือนรอมฎอนที่จะมีแต่ความสุขอาจจะเต็มไปด้วยความเศร้าก็เป็นได้
"ช่วงรอมฎอน ตอนเย็น ๆ จะมีของกินขายเต็ม แต่ปีนี้ก็ไม่รู้จะเป็นไง" จันทนา กูโน ชาว อ.สายบุรี จ.ปัตตานี เล่าถึงบรรยากาศเดือนรอมฎอนปีก่อน ๆ ที่การจับจ่ายซื้อของในชุมชนเป็นไปอย่างคึกคักในช่วงเย็น เพื่อเตรียมสำหรับการละศีลอดในแต่ละวัน ก่อนที่ช่วงค่ำจะมีการละหมาดที่มัสยิดตลอดทั้งเดือน
แต่เธอคาดว่ารอมฎอนปีนี้บรรยากาศน่าจะต่างไปมาก
จันทนาเล่าว่า จริง ๆ แล้วบรรยากาศการประกอบศาสนกิจของชาวมุสลิมในปัตตานีค่อย ๆ เปลี่ยนไปตั้งแต่มีการระบาดของโควิด-19 ช่วงต้นเดือนมกราคม และสถานการณ์รุนแรงขึ้นในเดือน มี.ค. หลายคนเลือกที่จะละหมาดที่บ้าน ขณะที่มัสยิดเองก็ขอความร่วมมือไม่ให้ประชาชนมารวมตัวกัน ทุกวันนี้ชาวบ้านจะออกจากบ้านเฉพาะเวลาที่ไปซื้อของที่ตลาดเท่านั้น
ตลาดสดImage copyrightGETTY IMAGES
คำบรรยายภาพบรรยากาศการจับจ่ายซื้อของที่ตลาดสดใน จ.นราธิวาส เมื่อต้นเดือนเมษายน
เช่นเดียวกับชาวมุสลิมในกรุงเทพฯ หลายคนที่ยินดีทำตามมาตรการของรัฐด้วยการละหมาดและละศีลอดที่บ้าน แต่ด้วยความที่ไม่คุ้นเคยกับการละหมาดลำพังโดยไม่มีอิหม่ามเป็นผู้นำ ชาวมุสลิมบางคนจึงป้องกันความผิดพลาดด้วยการศึกษาขั้นตอนต่าง ๆ อย่างละเอียด รวมถึงเปิดดู "ไลฟ์สดการละหมาด" ที่มีโต๊ะอิหม่ามนำการปฏิบัติศาสนกิจช่วงรอมฎอน

ล้อมวงกินข้าว-บ้วนน้ำลาย-ฮารีรายอ

เมื่อพูดถึงการถือศีลอด หนึ่งในวิถีปฏิบัติของชาวมุสลิมที่คนทั่วไปมักนึกถึงคือการล้อมวงรับประทานอาหารในภาชนะเดียวกันช่วงละศีลอดในแต่ละวัน และ "การบ้วนน้ำลาย" ซึ่งในภาวะโรคระบาดเช่นนี้ อาจเป็นพฤติกรรมที่น่าห่วงไม่น้อย เนื่องจากน้ำลายเป็นสารคัดหลั่งที่อาจปนเปื้อนเชื้อไวรัส
นพ.ชาติชาย วงษ์อารี นายกสมาคมแพทย์มุสลิม และผู้อำนวยการโรงพยาบาล เวชการุณย์รัศมิ์ อธิบายกับบีบีซีไทยถึงประเด็นนี้ว่า การบ้วนน้ำลายช่วงถือศีลอดเป็นสิ่งที่เคยปฏิบัติกันในอดีตเมื่อ 40-50 ปีก่อน แต่ปัจจุบันนี้มีการสร้างความเข้าใจใหม่ว่า น้ำลายเป็นสิ่งที่ผลิตโดยร่างกาย ไม่ได้เป็นการดื่มน้ำจากภายนอกชาวมุสลิมจึงสามารถกลืนน้ำลายได้ในช่วงถือศีลอด
เช่นเดียวกับพฤติกรรมการรับประทานที่มีการใช้ภาชนะร่วมกัน นพ.ชาติชาย กล่าวว่า "เป็นเรื่องเก่า" แต่ "ไม่ใช่ว่าไม่มี" เพราะปัจจุบันประชาชนใส่ใจเรื่องสุขอนามัยมากขึ้น ไม่เว้นแม้แต่ในกลุ่ม "ดะวะห์" หรือผู้เผยแผ่ศาสนาที่ต้องใช้ชีวิตร่วมกัน กินอยู่หลับนอนด้วยกัน
ละหมาดในมัสยิดImage copyrightTHAI NEWS PIX
คำบรรยายภาพชาวมุสลิมร่วมในพิธีละหมาดวันศุกร์ที่มูลนิธิเพื่อศูนย์กลางอิสลามแห่งประเทศไทย กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 20 มี.ค. ซึ่งหลังจากนั้นได้ยกเลิกพิธีละหมาดวันศุกร์ไปตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19
นพ.ชาติชายเชื่อว่าชาวมุสลิมทั่วประเทศจะปฏิบัติตามประกาศของสำนักจุฬาราชมนตรีเรื่องมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในการปฏิบัติศาสนกิจที่ออกมาตั้งแต่วันที่ 14 เม.ย. และชาวมุสลิมจำนวนมากก็ให้ความร่วมมืออย่างดี เช่น งดการเดินทางมามัสยิดหรือการเว้นระยะห่างเมื่อรับประทานอาหารร่วมกันที่บ้าน
เขาเชื่อว่าช่วงเดือนรอมฎอนชาวมุสลิมทุกคนจะปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคระบาดอย่างเคร่งครัดประกอบศาสนกิจที่บ้าน ซึ่งลดการสัมผัสที่ไม่จำเป็นได้มาก แต่สิ่งที่ต้องย้ำกับชาวมุสลิมคือเรื่องการออกไปตลาดเพื่อจับจ่ายซื้อของเพื่อนำมาประกอบอาหารในช่วงละศีลอดแต่ละวัน ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อจากแหล่งชุมนุมชน
นพ.ชาติชายแนะนำให้ชาวมุสลิมปรับพฤติกรรมโดยการซื้อสินค้าครั้งเดียว เพื่อให้สามารถประกอบอาหารได้หลายมื้อแทน
นายกสมาคมแพทย์มุสลิมยอมรับว่าสิ่งที่เขากังวลและเห็นว่าอาจมีความเสี่ยงต่อการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่คือกิจกรรมใน "วันฮารีรายอ" หรือ "รายอ" ที่เปรียบเหมือนเทศกาลการให้อภัยและกระชับความสัมพันธ์ทั้งในครอบครัวและชุมชน ซึ่งจะจัดขึ้นหลังการสิ้นสุดระยะเวลาถือศีลอดครบ 1 เดือน
ช่วงเทศกาลฮารีรายอนี้ คนไกลบ้านก็มักเดินทางกลับเพื่อร่วมพิธีละหมาดอีฎิ้ลฟิตร์ที่มัสยิด โดยมัสยิดใหญ่ ๆ อาจจะมีผู้ไปร่วมพิธีนับพันคนเลยทีเดียว
นพ.ชาติชายอธิบายว่าการละหมาดร่วมกันหรือการพบปะกันหลังสิ้นสุดการถือศีลอดเป็นธรรมเนียมที่ปฏิบัติต่อกันมา แต่ไม่ได้เป็น "ข้อกำหนด" ว่าต้องทำในช่วงฮารีรายอ แตกต่างจากการละหมาด 5 เวลา หรือละหมาดวันศุกร์ที่ถือเป็นข้อกำหนดที่ชาวมุสลิมต้องปฏิบัติ
เขาเสนอว่าหากมีการออกประกาศห้ามรวมตัวกันช่วงฮารีรายอน่าจะเป็นเรื่องดี

สื่อสารด้านสาธารณสุขด้วยหลักคำสอน

"...การเผชิญหน้ากับโควิด-19 เราจะเผชิญกับมันด้วยอวิชาไม่ได้ เราต้องเผชิญหน้ากับมันด้วยความรู้ทางวิชาการด้านสาธารณสุข และทางด้านศาสนา ท่านบอกว่าเวลาเราจะสื่อด้วยการนำคำสอนจากคัมภีร์อัลกุรอานมาสอดแทรกให้คนรู้ว่าความรู้ด้านสาธารณสุขกับด้านศาสนามันเป็นเรื่องเดียวกัน"
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุกรี หลังปูเต๊ะ รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี ให้ข้อมูลกับบีบีซีไทยถึงแนวทางการสื่อสารกับชาวมุสลิมในภาวะที่มีโรคระบาด โดยเฉพาะในพื้นที่สามจังหวดชายแดนใต้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อศาสนกิจที่ต้องปฏิบัติ
ดร.สุกรีกล่าวว่าสิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึงในการสื่อสารคือ "ภาษา" เนื่องจากชาวมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ใช้ภาษามลายูในการสื่อสาร ทางมหาวิทยาลัยจึงจัดทำหนังสือคู่มือการเผชิญหน้ากับโรคระบาดโควิด-19 เป็นภาษามลายูและไทย
ละหมาดในมัสยิดImage copyrightTHAI NEWS PIX
คำบรรยายภาพชาวมุสลิมเว้นระยะห่างระหว่างกันในการละหมาดที่มูลนิธิเพื่อศูนย์กลางอิสลามแห่งประเทศไทย กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 20 มี.ค.
ดร. สุกรีมองว่าการสื่อสารเป็นหัวใจของการควบคุมโรคระบาดและป้องกันการติดเชื้อ แต่ยอมรับว่าเป็นเรื่องยากโดยเฉพาะเมื่อประชาชนต้องปรับเปลี่ยนวิถีการปฏิบัติศาสนกิจบางอย่างเพราะคนจำนวนไม่น้อยบอกว่า "กลัวบาป"
"รอมฎอนมีแค่ปีละครั้ง และสำหรับบางคนถ้าไม่ได้ไปละหมาดครบทั้ง 30 คืน (ช่วงเดือนรอมฎอน) ก็จะรู้สึกว่าตัวเองทำหน้าที่ได้ไม่ดีพอ ถ้าผู้นำทางศาสนาสื่อสารผ่านการตีความจากพระคัมภีร์ว่าอนุญาตให้ทำอะไรบางอย่างได้ ก็จะทำให้ผู้คนเชื่อฟังและปฏิบัติตามเป็นอย่างดี" รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยฟาฏอนี ให้คำแนะนำ
ข้อควรปฏิบัติสำหรับมุสลิมImage copyrightFACEBOOK/กระทรวงสาธารณสุข
Read More

วันศุกร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2563

Post Top Ad

Your Ad Spot